2.1 หลักฐานจากซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิต (Fossil)
เกิดจากซากของสิ่งมีชีวิตของพืชและสัตว์ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นหินยุคต่าง ๆ หรือ ถูกทับถมโดยโคลนหรือตะกอนในนํ้าอย่างรวดเร็ว แร่ธาตุที่ละลายอยู่ในนํ้าจึงซึมเข้าสู่ โครงสร้างกระดูกกลายเป็นหินหรืออาจเกิดจากลาวาซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุดในการ สนับสนุนว่าสิ่งมีชีวิตมีกระบวนการวิวัฒนาการค่อยเป็นค่อยไป
ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ของนกโบราณ (Archaeopteryx) |
2.2 หลักฐานการปรับปรุงของพืชและสัตว์
ในอดีตไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เดิมทีเดียวเป็นพันธุ์ป่าทั้งนั้น มีผลผลิตตํ่าลักษณะไม่เหมาะต่อการอุปโภคบริโภค และมนุษย์ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตให้สูงขึ้น ให้เหมาะสมต่อผู้อุปโภคบริโภคซึ่งกล่าวได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้ เนื่องจากการกระทำของมนุษย์และเป็นไปเองโดยธรรมชาติ
2.3 หลักฐานจากโครงสร้าง
จากการศึกษาโครงสร้างอวัยวะต่างชนิดกันถึงแม้ว่าอวัยวะบางส่วนภายนอกจะแตกต่างกันแต่โครงสร้างอวัยวะภายในนั้นมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันมาก
กระดูกรยางค์คู่หน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง |
โดยปกติแล้วไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะพบสัตว์ที่คล้ายคลึงกันในทวีปที่คล้ายคลึงกันเสมอไป สิ่งมีชีวิตบางชนิดกำเนิดจากบริเวณนี้แล้วไม่สามารถแพร่กระจายไปบริเวณอื่นได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมบริเวณอื่นไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตเต็มที่ จึงพบเห็นแต่บริเวณที่กำเนิดเท่านั้น สิ่งมีชีวิตเข้าไปอาศัยในแหล่งใหม่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่โดยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างลักษณะรูปร่าง รูปร่างลักษณะบางครั้งเมื่อเปลี่ยนแปลงมาก ๆ ก็เกิดเป็น Species ใหม่ขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น