นักชีววิทยาเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลกมานานกว่าสามพันล้านปี ชีวิตแรกที่อุบัติขึ้นน่าจะอยู่ในนํ้ามีลักษณะคล้ายส่าเหล้า ดำรงชีวิตโดยอาศัยพลังงานจากกระบวนการหมัก (Fermentation) การผลิตพลังงานแบบนี้มีประสิทธิภาพตํ่ากว่ากระบวนการหายใจที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Respiration) ชีวิตแรกจึงไม่สามารถพัฒนาก้าวไกลเกินกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดเซลล์เดียว นอกจากนี้ชีวิตแรกมีอาหารจำกัด เพราะสารอินทรีย์ที่ถูกสังเคราะห์ที่ผิวนํ้าจมลงช้ามาก ดังนั้นวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตระยะแรกจึงใช้เวลาเป็นล้าน ๆ ปี สันนิษฐานว่าการขาดแคลนอาหารเป็นตัวกำหนดการคัดเลือกโดยธรรมชิต ตามทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาวิน ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตโดยการสังเคราะห์แสงขึ้นมาแทนที่ ผลพลอยได้คือ ออกซิเจนที่
เกิดจากการสังเคราะห์แสงสะสมในนํ้ามากขึ้น จนในที่สุดก็แพร่ขึ้นสู่บรรยากาศ ทำให้บรรยากาศบนผิวโลกเปลี่ยนไป สิ่งมีชีวิตก็เปลี่ยนแปลงรูปร่างและขึ้นมาอยู่บนผิวนํ้าและบนบกได้ พบว่าสัตว์ที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ อุบัติขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 600 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับยุคแคมเบรียน (Cambrian period) เช่น ปะการัง ฟองนํ้า หอย หนอน สาหร่ายทะเลและต้นตระกูลของพืชมีเมล็ดและสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทั้งนี้เพราะพืชสีเขียวเริ่มมาอยู่บนบก โดยเฉพาะพืชสีเขียวที่ปกคลุมผิวโลกอย่างหนาแน่น ทำให้มีออกซิเจนและอาหารเพียงพอสำหรับสัตว์บกขนาดใหญ่ เช่น ไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมนุษย์ พืชเหล่านี้เมื่อตายจะสะสมเป็นเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuel) ที่มนุษย์ในปัจจุบันใช้ในการคมนาคมขนส่งและอุตสาหกรรมต่าง ๆ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต แบ่งได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่
1. บรมยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian eon) เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4.5-5
พันล้านปีมาแล้ว
2. มหายุคพาเลโอโซอิก (Paleozoic era) เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 600 ล้านปีมาแล้ว
3. มหายุคเมโสโซอิก (Mesozoic era) เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 230 ล้านปีมาแล้ว
4. มหายุคเซโนโซอิก (Cenozoic era) เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 63 ล้านปีมาแล้ว
3.1 บรมยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Eon)
บรมยุคพรีแคมเบรียน แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ ยุคอาร์เคียน (Archean) และยุค โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) ในบรมยุคนี้เริ่มกำเนิดสิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นตํ่า ได้แก่ แบคทีเรียและสาหร่ายสีนํ้าเงินแกมเขียว พบซากดึกดำบรรพ์ (fossil) ครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ สัตว์ที่พบ ได้แก่ หนอนและพวก Metazoa แต่พบเป็นส่วนน้อย
3.2 มหายุคพาเลโอโซอิก (Paleozoic Era)
ในมหายุคนี้แบ่งเป็น 6 ยุคด้วยกัน ได้แก่
3.2.1 ยุคแคมเบรียน (Cambrian Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 100 ล้านปี ช่วงนี้ทะเลยังตื้น โดยเฉพาะระหว่างทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ ทำให้สัตว์อพยพไปมาระหว่างทวีปได้ ในพืชพบสาหร่ายทะเลมากมาย ในสัตว์พบสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยปากเป็ด (Trachiopod) และพวกสัตว์ขาปล้อง (Trilobite) ที่อาศัยอยู่ในทะเล นอกจากนี้ยังพบฟองนํ้า หมอน แมงกะพรุน
สัตว์ขาปล้อง (Trilobite) ในทะเลในยุคแคมเบรียน |
สัตว์ใน Phylum arthropoda ในยุคแคมเบรียนที่พบในอังกฤษและประเทศโคลัมเบีย |
3.2.2 ยุคออร์โดวิเชียน (Ordovician Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 60 ล้านปี เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวดิน บริเวณที่เคยเป็นทะเลก็กลายเป็นส่วนของแผ่นดิน สัตว์ในยุคนี้จะเป็นสัตว์พวกไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ฟองนํ้า ปะการัง สัตว์ที่อยู่ใน Phylum Echinodermata ได้แก่ ปลาดาว หอยเม่น ดาวเปลาะ ปลิงทะเล พลังพลึงทะเล แต่ที่สำคัญยุคนี้เป็นยุคแรกที่พบสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกแรก คือปลาไม่มีขากรรไกร (Jawlessfish) ซึ่งมีช่องปากเป็นที่อยู่ของฟันในการฉีกอาหาร และที่หลังมีเปลือกแข็งหุ้ม ส่วนพืชที่พบได้แก่ พืชที่อยู่ในนํ้า ได้แก่ สาหร่ายทะเลซึ่งมีความยาวเป็นร้อย ๆ ฟุต มีมากในทะเล เกิดสปอร์ของพืชบกขึ้นครั้งแรก
สัตว์ใน Phylum Echinodermata ที่พบในทะเลในยุค Ordovician |
ostracoderm ปลาไม่มีขากรรไกร (Jawlessfish) ที่มีฟันในการฉีกอาหารในยุค Ordovician |
ส่วนประกอบโครงสร้างของหอย Ammonites ที่พบในทะเลในยุค Ordovician |
3.2.3 ยุคไซลูเรียน (Silurian Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 20 ล้านปี พืชที่พบส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายที่มีหินปูนอยู่ด้วย และยังพบพืชเปลือย (Haked plants) และลักษณะต้นไม้ไม่มีใบ ส่วนสัตว์ที่พบมากได้แก่ พวกแมงมุมที่อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้า ที่เรียกว่า Arachnids (อราดนิด) และพวกแมงป่องทะเล นอกจากนี้ยังพบพวกสัตว์ปล้องที่แบ่งลำตัวและลำดับเป็น 3 คู่ตามความยาว และปลามีขากรรไกร
แมงป่องที่อาศัยอยู่ตามแหล่งนํ้าในยุค Silurian |
3.2.4 ยุคดิโวเนียน (Devonian Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 50 ล้านปี พืชที่พบเป็นพืชที่มีเมล็ดพวกแรก ยุคนี้ได้ชื่อว่า Age of Fishes หรือยุคของปลาโดยเฉพาะ เพราะพบปลามากมาย ได้แก่ ปลา Placoderm ปลา Crossopterygian ซึ่งมีลักษณะมีครีบที่มีเนื้อหนาเป็นปู ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้า ปลาฉลาม และที่สำคัญพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าเป็นพวกแรก ชื่อว่า Lobyrinthodonts ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของสัตว์เลื้อยคลาน และยังพบสัตว์พวกหอยด้วย (Ammonites) บนบกเริ่มมีพืชขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและมีป่าเกิดขึ้น พืชมีท่อลำเลียงแรกเริ่ม เช่น ไซลอฟซิค คลับมอสโบราณ สนหางม้า สนโบราณ
ปลา Placoderm ในยุค Devonian |
ปลาฉลามที่พบในยุค Devonian |
3.2.5 ยุคคาร์โบนิเฟอรัส (Carboniferous Period)
ในยุคนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
1. Lower Carboniferous or Mississippian period ยุคนี้มีต้นไม้ที่เป็นตัวเริ่มของถ่านหิน เช่น พวกหางม้า (Banisetum) เมล็ดเฟิร์น สปอร์เปือย (Gumnosperm) ในสัตว์พบพวกปะการัง หอยปากเป็ด และสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าต่าง ๆ
2. Upper Carboniferous or Pennsylvanian period ยุคนี้ต้นไม้ขนาดใหญ่เริ่มตายกลายเป็นถ่านหิน พืชส่วนใหญ่เป็นพวก Clubmoss ขนาดใหญ่ ในสัตว์พบสัตว์เลื้อยคลาน พวกแมลงปีกแข็ง และพบ Fossil ของแมลงปอที่มีปีกกว้างถึง 30 นิ้ว อากาศเริ่มหนาวและแห้งแล้ง
พืชตระกูลสน |
พืชตระกูลเฟิร์นที่พบในยุค Mississippian ซึ่งส่วนมากมีขนาดใหญ่ |
แมลงปอในยุค Pennsylvanian |
3.2.6 ยุคเพอร์เมียน (Permian Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 45 ล้านปี พบ Siedfern และมีพืชพวกปรง (Cycads) เป็นครั้งแรก ในสัตว์พบแมลงมีปีกมากมาย พวกหอยในทะเลมีมาก และจุดที่เด่น ๆ เริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานเกิดขึ้นพวกแรกได้แก่ Cotylosaur เป็นสัตว์พวกไดโนเสาร์
สัตว์เลื้อยคลานพวกแรกที่เกิดในยุค Permian |
3.3 มหายุคเมโสโซอิก (Mesozoic Era)
ในมหายุคนี้ได้ชื่อว่า Age of Reptiles แบ่งเป็น 3 ยุค ได้แก่
3.3.1 ยุคไทรแอสสิก (Triassic Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 45 ล้านปี พืชที่พบเป็นพวก Gymnosperm พืชที่มีเมล็ด พบพืชพวกปรง (Cycads) แปะก๊วย (Ginkgoes) และสน (Conifers) มากมาย ในสัตว์มีสัตว์ขาปล้อง (Arthopod) บนบกมากมาย ได้แก่ กุ้ง แมลง ตะขาบ กิ้งกือ แมงมุม เห็บ หมัด ไร และสัตว์ในทะเล (crustancean) เช่น กุ้งมังกร กุ้งนํ้าจืดขนาดใหญ่ ปู เพลี้ย หมัดนํ้า สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าเริ่มสูญพันธุ์ และเริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก พวกไดโนเสาร์ ปลายยุคนี้พบบรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกด้วย
สัตว์เลื้อยและพวกไดโนเสาร์ขนาดเล็ก |
3.3.2 ยุคจูแรสสิก (Jurassic Period)
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 45 ล้านปี ในพืชเริ่มมีพืชดอกพวก Angiosperm คือพืชดอกพวกที่มีเมล็ด เป็นยุคของไดโนเสาร์ และพบอิโทโอซอ (Ichthyosour) ที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถว่ายนํ้าได้เหมือนปลา สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ เช่น Plesiosaur และเริ่มมีบรรพบุรุษของนกชื่อว่า Archacopteryx ซึ่งมีลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน
สัตว์เลื้อยคลานที่ว่ายนํ้าได้เหมือนปลาพวก Ichthysour |
ยุคนี้กินเวลาประมาณ 65 ล้านปี เริ่มมีพืชดอก สัตว์เลื้อยคลานลดลง ในยุคนี้ไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์ เริ่มมีนกในปัจจุบันมากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวก Massupian คือสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง และ Placenta คือสัตว์ที่มีรก แต่รูปร่างยังเล็ก
3.4 มหายุคเซโนโซอิก (Cenozoic Era) เริ่มเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 63 ล้านปีมาแล้ว
ในยุคนี้ได้ชื่อว่าเป็น Age of Angiosperm และ Age of Mammal (สัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยนม) แบ่งเป็น 2 ยุค
3.4.1 ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period)
ในยุคนี้แบ่งเป็น 5 สมัย ได้แก่
1. สมัยพาลีโอซีน (Paleocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 10 ล้านปีเริ่มมีพืชพวก Moncatyledon คือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีลำต้นเป็นข้อปล้อง เช่น อ้อย ไผ่ แขม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในปัจจุบันเริ่มเกิดขึ้น
2. สมัยอีโอซีน (Eocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 15 ล้านปี พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ได้แก่ ปลาวาฬ โลมา พะยูน พบปะการัง หอยกาบคู่ชนิดต่าง ๆ ปลาเทเลออสท์ (Teleost) ซึ่ง เป็นปลากระดูกแข็ง อาจมีเกล็ดหรือไม่มีเกล็ดก็ได้
3. สมัยโอลิโกซีน (Oligocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 15 ล้านปี เป็นช่วงที่พืชดอกเริ่มแพร่มากขึ้น พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเล็กรุ่นแรกเริ่มสูญพันธุ์ ช่วงนี้เป็นวิวัฒนาการของม้า พบลิงใหญ่ เช่น อุรังอุตัง และพบนกในปัจจุบันแพร่มากขึ้น เพราะอากาศอบอุ่นขึ้น
4. สมัยไมโอซีน (Miocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 10 ล้านปี พบพวกลิงขนาดใหญ่ที่ไม่มีหาง(Enthopuidepes) ได้แก่ชะนี ซิมแพนซี และกอริลลา
ลิงไม่มีหางขนาดใหญ่ |
5. สมัยไพลโอซีน (Pliocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 7 ล้านปี ต้นไม้ใหญ่เริ่มลดลง พื้นดินมีทุ่งหญ้ามากขึ้น สัตว์ทั้งหลายที่พบเหมือนในปัจจุบัน
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดต่าง ๆ ในมหายุค Cenozoic |
3.4.2 ยุคควอทเทอร์นารี (Quarternary Period)
ในยุคนี้แบ่งเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) สมัยนี้กินเวลาประมาณ 3 ล้านปี เป็นยุคของนํ้าแข็ง อากาศเย็นลง มีภูเขาหิมะละลายลงมา ทำให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ไปมาก สัตว์ขนาดใหญ่สูญพันธ์ไปหมด เช่น Groundsloth, เสือเขี้ยวยาง (Sater-toothed tiger) ช้างโบราณ (Mammoth) สัตว์ที่เหลืออยู่ได้แก่ ม้าข้อเดียว ในสมัยนี้เริ่มเกิด Early man ที่มีลักษณะครึ่งคนครึ่งลิง
2. สมัยปัจจุบัน สมัยนี้ได้ชื่อว่า Age of man พืชที่พบ (Dominant) เป็นพวก Herbaccous คือต้นไม้ที่เป็นพุ่มหรือไม้ล้มลุก ส่วนสัตว์ที่พบเหมือนมีอยู่ในปัจจุบัน
เก่งนะตรับ ที่มนุษย์สามารถย้อนอดีตไปได้ถึง5-6พันล้านปี
ตอบลบไม่ใช่นกค่ะ มันคือเทอร์โรซอร์ในยุคครีเทเชรียส เทอร์โรซอร์ไม่ใช่นกนะคะ แล้วก็เทอร์โรซอร์ ปรากฏในยุคจูแรสซิกกับยุคครีเทเชรียส อยู่ระหว่างสองยุคนั้น เทอร์โรซอร์ไม่ใช่นกแต่เป็นสัตว์เลื้อยคลานบินได้ ไม่ใช่นกนะคะ นกในยุคปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการ
ตอบลบจากเทอร์โรซอร์ค่ะ
สุดยอดครับ
ตอบลบสุดยอดมากเลยคะ
ตอบลบ👍👍👍
ตอบลบ👍👍👍👍👍
ตอบลบถูกบังคับไห้อ่าน ตาแฉะไปเลยจ้าาา
ตอบลบ